10 วิธีสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน

 

จะในชีวิตเจ้าของธุรกิจทุกรายต่างอยากให้พนักงานของตนเองนั้นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและขยันขันแข็ง แน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ หลายบริษัทอาจประสบปัญหาพนักงานทำงานไม่เต็มกำลังความสามารถซึ่งส่งผลโดยตรงต่อฝ่ายบริหาร ทำให้ผู้นำหลายรายต้องขบคิดหาแนวทางการแก้ไขต่าง ๆ นานา แต่บริหารบางรายอาจแก้ปัญหาด้วยวิธีการผิด ๆ ซึ่งอาจไม่ช่วยอะไรเลยก็เป็นได้ แล้ววิธีใดคือสิ่งที่ช่วยสร้างแรงจูงใจพนักงานกันแน่ล่ะ ก่อนจะพบแนวทางช่วยเสริมสร้างกำลังใจและแรงจูงใจ เราต้องสำรวจก่อนว่าวิธีเดิม ๆ ที่ไม่ได้ช่วยสร้างกำลังใจให้พนักงานมีสิ่งใดบ้าง และเรากำลังทำสิ่งนั้นอยู่หรือไม่

 

ความคิดผิด ๆ ที่ไม่อาจสร้างกำลังใจ

 

1.ให้เงินพิเศษ

การได้รับการยกย่องและการได้เป็นที่หนึ่งนั้นเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้พนักงานเกิดแรงกระตุ้นในการที่จะทำงานให้ดียิ่งขึ้น แม้เงินจะสามารถช่วยผลักดันได้แต่ก็ได้ผลเพียงแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นค่ะ

แน่นอนว่าทุกคนชอบได้รับโบนัสทั้งนั้น พนักงานผู้ได้รับโบนัสก็จะขยันทำงานกันมากขึ้น แต่ความสุขที่ว่าก็อยู่ได้ไม่นานนัก จากการวิจัยพบว่าหลังจากผ่านไป 6 เดือน พนักงานกลับไม่รู้สึกเป็นพิเศษอะไรกับโบนัสที่ได้รับไปแล้ว และมันก็ไม่ได้ส่งผลหรือช่วยกระตุ้นให้พวกเขาขยันเหมือนเมื่อตอนได้รับโบนัสช่วงแรก ๆ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเงินโบนัสไม่สามารถรักษาแรงกระตุ้นให้คงอยู่ต่อไปได้เรื่อย ๆ

 

สิ่งที่จะช่วยสร้างแรงผลักดันให้พนักงานมีกำลังใจและทุ่มเทให้การทำงานจริงๆก็คือการได้รับการยอมรับและเลื่อนสถานะ ยกตัวอย่างเช่น เจ้านายให้โบนัสพนักงานขายคนหนึ่งที่ทำยอดได้มากสุดในแผนก ทุก ๆ คนรับรู้ถึงความสำเร็จของพนักงานคนนั้น และเขาเองก็รู้สึกภาคภูมิใจมาก การได้รับการยกย่องและได้เป็นที่หนึ่งนั้นคือปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานคนดังกล่าวเกิดแรงกระตุ้นอยากจะทำงานให้ดียิ่งขึ้น แม้เงินพิเศษสามารถช่วยผลักดันได้ แต่ก็ได้ผลเพียงแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

 

สิ่งที่เจ้านายควรทำจริง ๆ คือให้โอกาสพนักงานพิสูจน์ฝีมือของตนเองและยอมรับในความสามารถอันโดดเด่นของตัวพนักงานคนนั้น ๆ เพราะพนักงานจะเกิดแรงกระตุ้นมากที่สุดเมื่อได้รับโอกาสใหม่ ๆ การเป็นที่ยกย่อง และการเติบโตของตำแหน่งหน้าที่การงาน

 

2. ทำให้พนักงานมีความสุขไว้ก่อน

 

บางบริษัทถึงกับทำห้องเล่นเกมหรือห้องสันทนาการอื่น ๆ ให้พนักงานได้ใช้ในช่วงพัก ด้วยคาดหวังว่าความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจและสร้างกำลังใจให้พนักงาน แต่มันกลับไม่ได้ส่งผลใด ๆ ต่อประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาเลย

 

3. มองข้ามปัญหา

 

นักธุรกิจบางคนชอบเผชิญอุปสรรคและแก้ปัญหา ขณะที่เจ้านายและลูกน้องบางคนก็เลือกปล่อยปัญหาให้ผ่านไปแทนที่จะหาวิธีแก้ไข อาจเพราะเห็นว่าปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและไม่อยากทำร้ายจิตใจพนักงานว่าพวกเขาทำผิด แต่อย่าลืมว่าการมองข้ามปัญหาไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแก่ใครเลย ไม่ว่าจะต่อบริษัทหรือพนักงาน

 

4. ทำอย่างไรก็ไม่เกิดแรงจูงใจ

 

การเชื่อว่าสำหรับพนักงานบางคนไม่ว่าเราทำอย่างไรก็ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้นั้น ผิดอย่างยิ่ง ความจริงก็คือพนักงานแต่ละคนนั้นควรได้รับการผลักดันที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าอะไรคือปัจจัยที่จะช่วยให้พวกเขามีกำลังใจในการทำงานเพื่อก้าวหน้าของตนเองและการเติบโตของบริษัท

 

5. ไม่ต้องผลักดันพนักงานที่เก่งอยู่แล้ว

ความเก่งไม่ได้มาพร้อมการผลักดันตนเองเสมอไป

ทุกบริษัทต่างก็อยากได้พนักงานเก่ง ๆ มาทำงานด้วย เพราะคนเหล่านี้เรียนรู้ไว ปรับตัวได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ จนทำให้เจ้านายคิดไปเองว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อพนักงานเหล่านี้อีก อย่างไรก็ตามความเก่งไม่ได้มาพร้อมกับการผลักดันตนเองเสมอไป  มีพนักงานมากความสามารถหลายรายไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้ตนเองเกิดแรงจูงใจซึ่งอาจตามด้วยการขาดความใส่ใจในงานที่ทำได้

 

เจ้านายที่ฉลาดจะต้องสร้างบรรยากาศการทำงานให้ช่วยกระตุ้นกำลังใจและแรงจูงใจของพนักงาน ซึ่งอาจช่วยให้ฝ่ายบริหารทราบว่าพนักงานแต่ละคนชอบงานส่วนไหนและไม่ชอบทำอะไร เพื่อว่าจะได้วางแผนใช้ความสามารถของพนักงานให้ถูกกับเนื้องานได้

 

 

 10 ง่าย ๆ ช่วยกระตุ้นกำลังใจ

1. การพูดชื่นชมงานที่สำเร็จแล้วหรืออาจเสร็จแค่บางส่วน

2. ถ้าพนักงานดูเหนื่อยหน่ายกับงานที่ทำ เรียกพวกเขามาคุยเพื่อดูว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาเส้นทางอาชีพหรือความก้าวหน้า เช่น การเลื่อนขั้นจากการวัดผลการทำงาน

3. ชี้แจงให้กระจ่างว่าอะไรคือความคาดหมายที่ต้องการได้รับจากงานแต่ละชิ้น

4. แบ่งงานให้พนักงานแต่ละคนทำ โดยต้องประกอบไปด้วยเนื้องานที่หลากหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจ

5. แสดงให้พนักงานเห็นว่างานที่พวกเขาทำก่อประโยชน์ต่อบริษัทมากแค่ไหน

6. ทำให้พนักงานรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาทำมีความหมายมากเพียงใด

7. ติชมหรือชี้แนะการทำงานของพนักงานไม่ว่าจะด้านบวกหรือด้านลบก็ตาม

8. ให้อิสระแก่พนักงานในการรับผิดชอบงานที่พวกเขาทำ มากน้อยขึ้นอยู่กับผลงานที่ผ่านมา

9. สร้างความลึกซึ้งของงานที่พนักงานแต่ละคนทำ เช่น ดูว่าพนักงานมีความสามารถด้านไหนที่พอจะพัฒนาได้บ้าง และเพิ่มศักยภาพเหล่านั้นด้วยการส่งไปฝึกหรืออบรมความรู้เพิ่มเติม

10. เปิดโอกาสอย่างเหมาะสมให้พนักงานได้ประสบความสำเร็จในสายงานที่ทำ

 

ที่มา http://incquity.com/

     10 Ways to Motivate Your Employees

ภาพจาก http://net2change.dk/

 

Admin : Gossy